Back To Newsroom

โดย เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาต ประเทศไทย: ยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์อย่างไม่มีกําหนดโดยทันที และสอบสวนการเสียชีวิต ระหว่างถูกคุมขัง

27 April 2023

ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์รายที่สองเสียชีวิตในสถานกักกันคนเข้าเมืองของไทยภายในเวลาสองเดือน

นายมัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน (มูฮัมหมัด ตูร์ซุน) อายุ 40 ปี ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ ซึ่งถูกคุมขังไว้ที่สถานกักกันคนเข้าเมืองของไทยตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2557 เสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คาดว่าเขาเสียชีวิตด้วยอาการตับวาย

 

นายมัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน (มูฮัมหมัด ตูร์ซุน) อายุ 40 ปี ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ ซึ่งถูกคุมขังไว้ที่สถานกักกันคนเข้าเมืองของไทยตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2557 เสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คาดว่าเขาเสียชีวิตด้วยอาการตับวาย

 

มีรายงานว่า มัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและอาเจียนในช่วงหลายสัปดาห์ที่ นําไปสู่การเสียชีวิตของเขา สภาพสุขภาพของเขาแย่ลงจนไม่สามารถพูดได้และถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 และเสียชีวิตในวันเดียวกัน เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยืนยันการเสียชีวิตของเขาต่อสาธารณะ แจ้งผลการชันสูตรทางการแพทย์และสอบสวนการเสียชีวิตใน ระหว่างถูกคุมขัง

 

การควบคุมตัวโดยพลการและการทรมานตามกฎหมายไทย

มัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน เดินทางถึงประเทศไทยในปี 2557 เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มชายหญิงและเด็กชาวอุยกูร์ 350 คนที่หลบหนีการ ประหัตประหารรวมถึงอาชญากรรมต่อมนุษยชาติโดยทางการจีน แต่พวกเขาก็ถูกจับกุมและควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ไทย ใน เดือนกรกฎาคม 2558 ผู้หญิงและเด็กอย่างน้อย 170 คนถูกส่งไปตุรกี ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาชายและหญิงมากกว่า 100 คนถูกส่งตัว กลับไปยังจีน ไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับที่อยู่หรือการปฎิบัติต่อพวกเขา

 

การกระทำดังกล่าวถือว่าขัดต่อกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่ชาวอุยกูร์ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าพบทนายความ ไม่ให้ พบUNHCR ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเพียงพอ ถูกกักตัวตลอด 24 ชั่วโมงในห้องที่แออัดและสกปรกโดยไม่มีอาหารที่ เพียงพอหรืออาหารฮาลาล ไม่สามารถออกกําลังกาย หรือได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ทำให้ สุขภาพของพวกเขาแย่ลง

 

ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์เหล่านี้ถูกควบคุมตัวโดยพลการมานานกว่าเก้าปีโดยไม่รู้ว่าจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อใด การควบคุมตัวของพวก เขาถือเป็นการทรมานตามข้อห้ามทั้งจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับให้บุคคลสูญหาย 

ของประเทศไทย2 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ไร้มนุษยธรรมหรือ ย่ำยีศักดิ์ศรีอื่นๆ(UNCAT) และขัดต่อพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง(ICCPR)

 

การเสียชีวิตก่อนหน้านี้

นับตั้งแต่กลุ่มอุยกูร์ถูกควบคุมตัวในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายในห้องกักซึ่งรวมถึงเด็กสองคน สองเดือนก่อนเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 อาซิซ อับดุลลาห์ ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ วัย 49 ปี เสียชีวิตในหัองกักคนเข้าเมืองสวนพลู มีรายงานว่าเขาเสียชีวิต ด้วยโรคปอดบวมหลังจากถูกกักเป็นเวลาเกือบเก้าปีที่ห้องกักตัวคนเข้าเมือง ครอบครัวของเขายังไม่มีข้อมูลว่าเขาเสียชีวิต อย่างไรและทําไม และยังไม่มีการแจ้งผลการชันสูตรพลิกศพกับพวกเขา

 

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย4 กําหนดให้มีการชันสูตรพลิกศพเพื่อสอบสวนการเสียชีวิตของอาซิซ อับดุล ลาห์ และ มัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน เครือข่ายเพื่อสิทธิผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติขอเรียกร้องให้ อัยการเปิดการสอบสวนการเสียชีวิตของพวกเขาและอนุญาตให้ครอบครัวของพวกเขามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ด้วย

 

จากการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพที่ทรุดโทรมของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ยังคงถูกคุมขัง เราจึงขอให้ รัฐบาลไทยเปิดเผยภาวะสุขภาพของผู้ลี้ภัยต่อสาธารณะ รวมทั้งให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าเยี่ยมและรักษาผู้ที่เจ็บป่วยได้ อย่างทันท่วงที

 

เราขอเรียกร้องให้ประเทศไทยในฐานะที่อาสาเป็นหนึ่งในผู้ผลักดันการดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้าย ถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบและปกติ(GCM Champion Country) แสดงบทบาทนำในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ ข้อตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว โดยจัดให้มีการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและยุติการคุมขังชาวอุยกูร์และผู้ลี้ภัยทุกคนใน ประเทศไทยอย่างไม่มีกำหนด

 

จากการที่ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ถูกกักอยู่ที่ห้องกักคนเข้าเมืองต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อชีวิต ทางเครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐ และเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ ต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลไทย:

  1. ปล่อยตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัวในประเทศไทยทันทีและยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยอย่างไม่มี กําหนดและโดยพลการ
  2. อนุญาตให้ทนายความ องค์กรเพื่อสิทธิผู้ลี้ภัย และองค์กรทางการแพทย์เข้าถึงผู้ลี้ภัยรวมถึงผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ที่ ถูกควบคุมตัวในประเทศไทยได้อย่างสม่ำเสมอ
  3. อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ในประเทศไทยเดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม
  4. ดําเนินการสืบสวนและสอบสวนการเสียชีวิตของ มัตโตห์ตี มัตตูร์ซุน และ อาซิซ อับดุลลาห์อย่างเต็มรูปแบบ และเปิดเผยต่อสาธารณะ

 


 

1 สภาอุยกูร์โลก, สอบสวนการเสียชีวิตของผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์ในสถานกักกันคนเข้าเมืองไทย ผู้ถูกคุมขังชาวอุยกูร์ที่เหลือต้องได้รับการปล่อยตัว, 17 กุมภาพันธ์ 2566 https://www.uyghurcongress.org/en/press-release-death-of-uyghur-refugee-in-immigration-detention-facility-must-be-investigated-remaining-uyghurdetainees-held-since-2014-must-be-released

2 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565, มาตรา 5

3 กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2539 https://www.ohchr.org/en/instruments-mechanisms/instruments/internationalcovenant-civil-and-political-rights

4 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา | ตํารากฎหมายไทย (แปล) (samuiforsale.com) มาตรา 150

Recommended

DURABLE SOLUTIONS

Feb. 8, 2024

Joint Statement on Malaysia’s Harmful Immigration Detention Policies & Practices

“Malaysia should use its final year as a member of the UN Human Rights Council to implement urgently needed reform of its immigration detention policies and practices. We are alarmed by Malaysia’s arbitrary and indefinite detention of men, women, and children fleeing genocide and human rights violations. We see the repeated incidents of deaths and escapes from immigration depots as an indicator of injustices that need to be addressed humanely through reform”

DURABLE SOLUTIONS

Feb. 2, 2024

Urgent Appeal on the Situation of Myanmarese Refugees in India

India has become an increasingly important destination for refugees fleeing Myanmar since the 2021 coup d’état. While the Indian government has condemned the violence, it has simultaneously ordered several frontline states to identify “illegal immigrants” with a view to deporting them. As states expand their detention systems there are increasing reports about mistreatment in custody, paltry detention conditions, and pushbacks along the border.

DURABLE SOLUTIONS

Dec. 14, 2023

The Asia Pacific Refugee Rights Network (APRRN) Statement on the Global Refugee Forum 2023

APRRN welcomes the convening of the second Global Refugee Forum (GRF) from 13-15 December 2023. During this forum, we acknowledge the commitments made by various States and stakeholders to support the practical implementation of the Global Compact on Refugees (GCR).